หมอลักษณ์ฟันธง ชี้! รัฐบาลสร้าง “วิกฤตซ้อนวิกฤต” ในโควิด-19
"เราติดหรือยัง" และ "มันจะจบเมื่อไร" คือคำถามแห่งปี หลังโลกต้องเผชิญกับวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19
คำถามคือการดูหมอช่วยคลายทุกข์ได้อย่างไร
สิ่งที่นักพยากรณ์ทำได้นอกเหนือจากการตรวจดูดวงชะตาให้คนดู/ลูกค้า คือการรับฟังและสร้างความสบายใจว่า "มีคนแปลกหน้าที่ไว้ใจได้ว่ามีวิชาความรู้ที่จะช่วยให้เขาได้รับโอกาสบางอย่าง"
ธนกฤต เมฆเมธิณสุรกุล หรือ "อาจารย์นอร์ท" ยอมรับว่า ปฏิกิริยาของผู้คนที่เข้าหานักพยากรณ์ในช่วงนี้แตกต่างจากช่วงปกติโดยสิ้นเชิง สะท้อนผ่านน้ำเสียงหดหู่สิ้นหวัง และการตั้งคำถามวกไปวนมา จนสัมผัสได้ถึงความตื่นตระหนกและตื่นกลัวกับสิ่งที่ยังมาไม่ถึง จึงมาขอรับคำพยากรณ์ว่าควรวางแผนชีวิตอย่างไร
ไม่ว่าหมอดูจะตรวจดวงชะตาพบแง่ลบจากดวงดาวอย่างไร "กฎการทำนาย" ของศิษย์สำนักโหรฟันธงคือ "ห้ามทายร้าย" ซึ่งหมอลักษณ์อธิบายความหมายไว้ว่า "หากมีร้าย 90 พูดให้น้อยที่สุด ให้พูด 10 เรื่องที่เป็นเรื่องดี และบอกเขาว่าคุณไม่ใช่คนเดียวที่โชคร้าย" ขณะที่หมอดูในอดีตราว 80% พอเห็นดวงแล้วก็จะบอกเป็น "ดวงแตก" ทำอะไรไม่เจริญ มีคู่ไม่ได้ เจ๊ง
แม้ต้องรับฟังความทุกข์ของคนอื่น แต่นักพยากรณ์ทั้ง 2 คนระบุตรงกันว่าไม่รู้สึกจิตตก เมื่อได้ช่วยผ่อนทุกข์หนักให้เบาบางลง ด้วยการเปิดหู-เปิดใจรับฟังคำระบายของคู่สนทนา
ที่น่าสนใจคือ คำถามของคนที่โทรไปหา "หมอดูโซเชียล" สอดคล้องกับปัญหาคาใจของคนไทยอีกกลุ่มที่เลือกอาสาสมัครสมาคมสะมาริตันส์แห่งประเทศไทยเป็น "ที่พึ่งทางใจ"
ทั้งนักจิตวิทยาและนักพยากรณ์เห็นพ้องกับข้อสังเกตของบีบีซีไทยที่ว่า ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 มีคนอยู่ 4 ประเภทอยู่ในฐานะ "ผู้สร้างความหวัง" ให้แก่เพื่อนมนุษย์
ผศ.พ.ต.หญิง ดร.พนมพร เห็นว่า แม้คนไทยบางส่วนค้นหาข่าวสารว่าหมอคิดค้นวัคซีนไปถึงไหนแล้ว เป็นความหวังที่เป็นวิทยาศาสตร์ แต่ยังมีบางกลุ่มรู้สึกว่าโหราศาสตร์เป็นสิ่งเยียวยาจิตใจเขา เหมือนคนเล่นหวยทั้ง ๆ ที่รู้ว่ามีโอกาสเสียมากกว่าได้ แต่ก็ยังเล่น การดูหมอก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยให้มีความหวัง